PostHeaderIcon หลักสูตรและแผนการศึกษา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565

 

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

วิทยาเขต / คณะ / ภาควิชา วิทยาเขตบางเขน คณะเศรษฐศษสตร ภาควิชาสหกรณ์

รหัส และชื่อหลักสูตร 25210021100051


ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
ภาษาอังกฤษ : Master of Arts Program in Cooperative Economics

 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม(ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.ม. (เศรษฐศาสตร์สหกรณ์)

The name is full : Master of Arts in (Cooperative Economics)
Abbreviation       : M.A. (Cooperative Economics)

 

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ปรัชญา

หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตรสหกรณ์ มุ่งผลิต

มหาบัณฑิตที่มีความรู้และอุดมการณ์สหกรณ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ของประเทศเพื่อการกินดีอยู่ดีอย่างพอเพียงและมีสันติสุข และ สืบทอดเจตนารมณ์

ตามปรัชญาของคณะเศรษฐศาสตร์ที่กำหนดไว้ว่า พัฒนาความรู้ภูมิปัญญาใน

องค์ความณุ้ด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประยุกต์

 

ความสำคัญ

ภาควิชาสหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ ได้ตระหนักถึงหน้าที่และความรับผิดชอบ

ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณธรรมและจริยธรรม จึงได้วางแผนพัฒนาบุุคลากร

ในสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ให้แก่ สหกรณ์ประเภทต่าง ๆ

องค์กรทางสหกรณ์และหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อตอบสนองรัฐธรรมนูญและนโยบายแห่งรัฐที่มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการสหกรณ์ จึงขยายการศึกษาวิชาการแขนงนี้ในระดับบัณฑิตศึกษา
2. เพื่อผลิตนักวิชาการและนักวิจัยทางเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ที่มีคุณวุฒิสูง เป็นตัวเร่งให้วิชาการสหกรณ์กระจายไปทั้งปริมาณและคุณภาพ โดยมีส่วนในการวิเคราะห์แก้ไขปรับปรุงงานสหกรณ์แห่งประเทศ
3. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตให้เพียงพอกับการขยายตัวของธุรกิจสหกรณ์และธุรกิจเพื่อสังคมและสร้างความเข็มแข็งให้กับขบวนการสหกรณ์ของประเทศ
4. เปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ทุกแขนงอาชีพได้เข้าศึกษาและนำความรู้ด้านสหกรณ์ไปประยุกต์กับการดำเนินงานด้านธุรกิจอื่น ๆ

 

ระยะเวลาในการศึกษา

หลักสูตรใช้ระยะเวลาในการศึกษา 2 ปี โดยแต่ละปีแบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา และ 1 ภาคฤดูร้อน คือ
ภาคปลาย  เริ่ม ธันวาคม - เมษายน (จำนวน 5 เดือน)
ภาคฤดูร้อน  เริ่ม พฤษภาคม - มิถุนายน (จำนวน 2 เดือน)
ภาคต้น     เริ่ม กรกฎาคม - พฤศจิกายน (จำนวน 5 เดือน)

 

ค่าใช้จ่ายในการศึกษา

ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร 2 ปี ซึ่งเป็นค่าหน่วยกิต ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม จัดการศึกษาดูงานภายในประเทศ
แผน ก แบบ ก(2) (ทำวิทยานิพนธ์)  ประมาณ 180,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
แผน ข (ทำการศึกษาค้นคว้าอิสระ) ประมาณ 180,000 บาท (หนึ่งแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
ทั้งนี้ ทั้ง 2 แผนการศึกษา ไม่รวมค่าลงทะเบียนเรียนภาษาอังกฤษ ค่าหนังสือภาษาอังกฤษ และค่าศึกษาดูงานต่างประเทศ

 

การวัดผลการสำเร็จการศึกษา

แผน ก แบบ ก(2)
1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามหลักสูตรแล้ว โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระดับ 4 ระดับหรือเทียบเท่า
2. ได้รับอนุมัติเทียบผลสอบภาษาอังกฤษ / ทดสอบภาษาอังกฤษ / สอบวิชาภาษาอังกฤษ ผ่าน
3. เสนอวิทยานิพนธ์และสอบปากเปล่าขั้นสุดท้ายผ่าน โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง และต้องเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้าฟังได้ (กำหนดการสอบ ตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยฯ)
4. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานชาติที่มีประกาศคณะกรรมการอุดมศึกษา เรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือนำเสนอฉบับสมบูรณ์ (Full Paper) ได้รับการตีพิมพ์ในรายงาน (Proceeding)

5. รายวิชาเอกบังคับที่ได้แต้มระดับคะแนนต่ำกว่า 2.00 (C) ต้องเรียนซ้ำวิชานั้น

แผน ข

1. ศึกษารายวิชาครบถ้วนตามสูตรแล้ว โดยมีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00 จากระดับ 4 ระดับหรือเทียบเท่า
2. ได้รับอนุมัติเทียบผลสอบภาษาอังกฤษ / ทดสอบภาษาอังกฤษ / สอบวิชาภาษาอังกฤษ ผ่าน

3. เสนอรางานการศึกษาค้นคว้าอิสระ และสอบปากเปล่าข้ันสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่สถาบันอุดมศึกษานั้นแต่งตั้ง 
4. สอบประมวลความรู้ผ่าน (กำหนดการสอบตามประกาศของโครงการฯ)
ครั้งแรก หลังจากนิสิตศึกษารายวิชาครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร และปรากฎแต้มระดับคะแนนทุกวิชา
ครั้งสอง ในกรณีสอบไม่ผ่านครั้งแรก ให้มีการสอบแก้ตัวใหม่ อีกครั้งหนึ่ง ภายใน 60 วัน นับจากวันสอบครั้งแรก

5. รายวิชาเอกบังคับที่ได้แต้มระดับคะแนนต่ำกว่า 2.00 (C) ต้องเรียนซ้ำวิชานั้น

 

หลักสูตร มี 2 แผน การเรียน ดังนี้

1 แผน ก แบบ ก (2) ทำวิทยานิพนธ์

1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตรที่ศึกษา ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

1.2 โครงสร้างหลักสูตร

ก) วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 26 หน่วยกิต

- สัมมนา 2 หน่วยกิต

- วิชาเอกบังคับ ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

- วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 9 หน่วยกิต

ข) วิทยานิพนธ์ ไม่น้อยกว่า 12  หน่วยกิต


2. แผน ข

2.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

2.2 โครงสร้างหลักสูตร

ก) วิชาเอก ไม่น้อยกว่า 38 หน่วยกิต

- สัมมนา 2 หน่วยกิต

- วิชาเอกยังคับ ไม่น้อยกว่า 15  หน่วยกิต

- วิชาเอกเลือก ไม่น้อยกว่า 15  หน่วยกิต

ข) การศึกษาค้นคว้าอิสระ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


รายวิชาเอกบังคับ
01125511 ลัทธิและหลักสหกรณ์ขั้นสูง (3-0-6)

(Advanced Cooperatives Doctrine and Cooperatives Principles)

01125512 เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ขั้นสูง 3 (3-0-6)

(Advanced Cooperatives Economics) 3 (3-0-6)

01125523 การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจสหกรณ์

(Strategic Management for Cooperatives Business)

(Cooperatives Business Management)

01125541เศรษฐศาสตร์ประยุกต์สำหรับธุรกิจสหกรณ์  3 (3-0-6)

(Applied Economics for Cooperative Business)

01125591 วิธีวิจัยสหกรณ์ชั้นสูง 3 (3-0-6)

(Advanced Research Methods in Cooperatives)

รายวิชาเอกเลือก

01125521 การบริหารความเสี่ยงขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์ 3 (3-0-6)

(Advanced Risk Management for Cooperatives Business)

01125524 บัญชีสหกรณ์เพื่อการจัดการ 3 (3-0-6)

(Managerial Cooperatives Accounting)

01125525 การเงินขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์ 3 (3-0-6)

(Advanced Financial for Cooperatives Business)

01125527 การตลาดขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์ 3 (3-0-6)

(Advanced Marketing for Cooperatives Business)

01125529 กฎหมายเพื่อการจัดการสหกณ์ 3 (3-0-6)

(Law for Cooperatives Management)

 

คำอธิบายรายวิชา

01125511 ลัทธิและหลักสหกรณ์ขั้นสูง

วิวัฒนาการแนวคิด หลักและปรัชญาอุดมการณ์ทางสหกรณ์ ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนถึงปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับลัทธิเศรษฐกิจอื่นๆ

01125512 เศรษฐศาสตร์สหกรณ์ขั้นสูง

แนวคิกการพัฒนาหลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ หลักและทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค

ที่นำมาประยุกต์ใช้กับสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ ในการผลิต การตลาด การกำหนดราคา การกำหนดขนาดประกอบการที่เหมาะสม

การประยุกต์แนวคิดประชาธิปไตร และทฤษฎีเกมส์ เพื่อการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ หลักและทฤษฎีเศรษฐศษสตร์มหภาคและเศรษฐศษสตร์สวัสดิการ

กับระบบสหกรณ์ในประเด็นเสถียรภาพ และการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ ประเด็นร่วมสมัยแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กับสหกรณ์ไทยและสหกรณ์ในต่างประเทศ

01125521 การบริหารความเสี่ยงขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์

แนวคิด และหลักในการบริหารความเสี่ยงแบบเชิงองค์กรสำหรับสหกรณ์ การวิเคราะห์และเค่รื่องมือการบริหารความเสี่ยงขั้นสูง

ด้านเครดิต ด้านการตลาด ด้านสภาพคล่อง และด้านการปฏิบัติการสำหรับสหกรณ์ การบริหารความเสี่ยงของสหกรณ์ประเภทต่าง ๆ

การทดสอบความอ่อนไหวต่อภาวะวิกฤติและการศึกษาการเงินและองค์กรระดับโลกเพื่อใช้กับธุรกิจสหกรณ์ไทย

01125523 การจัดการเชิงกลยุทธ์สำหรับธุรกิจสหกรณ์

แนวคิดพื้นฐานทางการจัดการสหกรณ์ หลักการจัดการองค์การสหกรณ์ กิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุนทางการจัดการ

หลักการวางแผนและกระบวนการในการวางแผน การกำหนดเป้าหมายและแผนงานในองค์การสหกรณ์ แนวคิดการควบคุมในองค์การสหกรณ์

เครื่องมือแะเทคนิคในการควบคุมและการควบคุมภายใน ธรรมาภิบาลในสหกรณ์ ทฤษฎีเกี่ยวกับโครงสร้างองค์การสหกรณ์ และ

ทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการในองค์การสหกรณ์ ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การสหกรณ์ ทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ในองค์การสหกรณ์

01125524 บัญชีสหกรณ์เพื่อการจัดการ

ระบบบัญชีสหกรณ์ การวิเคราะห์งบการเงินสหกรณ์เพื่อการวางแผนควบคุมและแก้ปัญหา การศึกษาแนวคิดของต้นทุนเพื่อการวางแผน และควบคุม

โดยศึกษาระบบต้นทุนเต็มที่ ต้นทุนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ผลแตกต่างของต้นทุน การจัดทำงบประมาณจ่ายลงทุน ศึกษาถึงแนวคิดของต้นทุนที่แตกต่างกัน

ในแต่ละทางเลือกเพื่อการตัดสินใจ ดำเนินการในระยะสั้น และการศึกษาแนวคิดของการบัญชีตามความรับผิดชอบ เพื่อการวางแผนและวัดผลการปฏิบัติงาน

01125525 การเงินขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์

บทบาทหน้าที่การจัดการการเงินในธุรกิจสหกรณ์ สภาพแวดล้อมทางการเงินของธุรกิจสหกรณ์ รายงานการเงินและการวิเคราะห์รายงานการเงิน

คณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการเงินสำหรับธุรกิจสหกรณ์ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและอัตราผลตอบแทน การประเมินมูลค่า การตัดสินใจการลงทุนระยะยาว

ต้นทุนของเงินและโครงสร้างทางการเงินของสหกรณ์ การตัดสินใจในการจัดหาเงินทุนระยะยาว การพยากรณ์ทางการเงิน วางแผน และทำงบประมาณทางการเงินของธุรกิจสหกรณ์

การจัดการเงินทุนหมุนเวียน การจัดหาเงินทุนระยะสั้น การจัดสรรเงินปันผลและเฉลี่ยคืนแก่สมาชิก การเลิกกิจการและการขายทอดตลาดให้เป็นสินทรัพย์สภาะคล่อง

การประกันภัย และกาประกันชีวิตในธุรกิจสหกรณ์

01125527  การตลาดขั้นสูงสำหรับธุรกิจสหกรณ์

แนวคิดการตลาดสำหรับธุรกิจสหกรณ์ วิวัฒนาการของแนวคิดทางการตลาด กระบวนการทางการตลาด การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาดและแรงผลักดันทางด้านการแข่งขัน

ที่มีผลต่อธุรกิจสหกรณ์ ทฤษฎีพฤติกรรม(ู้บริโภคในธุรกิจสหกรณ์ การแบ่งส่วนตลาด การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางการตลาดและวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์ในธุรกิจสหกรณ์

ส่วนผสมทางการตลาดสำหรับธุรกิจสหกรณ์การทำตลาดแบบสหกรณ์ดั้งเดิม และสหกรณ์ยุคใหม่ และการตลาดเพื่อสังคม กลยุทธ์ทางการตลาดของสหกรณ์ในและนอกภาคการเกษตร

การตลาดดิจิทัลสำหรับธุรกิจสหกรณ์ และธุรกิจเพื่อสังคม แนวทางการการตลาดทั่วโลก และประเด็นร่วมสมัยสำหรับการตลาดสหกรณ์

01125529 กฎหมายเพื่อการจัดการสหกณ์

กฎหมายสหกรณ์ กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการจัดการสหกรณ์

01125541 เศรษฐศาสตร์ประยุกต์สำหรับธุรกิจสหกรณ์

ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคที่เกี่ยวกับพฤติกรรม การบริโภค การออม การลงทุน การผลิตและการจัดการธุรกิจของสหกรณ์ นโยบายการเงิน นโยบายการคลัง

เงินเฟ้อ การเติบโต อัตราแลกเปลี่ยน การจ้างงาน

01125591 ระเบียบวิธีวิจัยทางเศรษฐศาสตร์สหกรณ์

หลักและระเบียบวิธีวิจัยทางสหกรณ์ การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อกำหนด หัวข้องานวิจัย การรวบรวมข้อมูลเพื่อการวางแผนการวิจัย การกำหนดตัวอย่างและเทคนิค

การวิเคราะห์ทางสถิติ การแปลผลและการวิจารณ์ผลการวิจัย การเขียนรายงานเพื่อนำเสนอและตีพิมพ์

01125595 การศึกษาค้นคว้าอิสระ

การค้นคว้าวิจัยทางสหกรณ์ ในหัวข้อที่น่าสนใจในระดับปริญญาโท เรียบเรียงเป็นรายงาน

01125597 สัมมนา

การนำเสนอและอภิปายหัวข้อที่น่าสนใจทางเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ในระดับปริญญาโท

01125599 วิทยานิพนธ์

วิจัยในระดับปริญญาโท และเรียบเรียงเป็นวิทยานิพนธ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 


Last Updated (Friday, 02 December 2022 09:37)